นิเวศวิทยา
(ECOLOGY)
นิเวศวิทยาคืออะไร?
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เต็มไปด้วยความสงสัย
และความสงสัยของมนุษย์ก็ไม่ได้จบสิ้นแค่ความสงสัยในตัวตนเท่านั้นหากแต่ยังแผ่กว้างออกไปถึงความสงสัยในปรากฏการณ์ต่าง
ๆ ความสงสัยในสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ความสงสัยในสิ่งไม่มีชีวิตที่อยู่รอบ ๆ ตัว
ความสงสัยต่าง ๆ เหล่านี้ก่อให้เกิด “ศาสตร์”
มากมายในโลกของเรา รวมถึงศาสตร์ที่เรียกว่า “นิเวศวิทยา” นิเวศวิทยาเป็นศาสตร์ที่มีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์ธรรมชาติ
(Natural history) การเรียนรู้ธรรมชาติของมนุษย์เป็นไปเพื่อทำให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
ความเข้าใจในธรรมชาติทำให้มนุษย์นำธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้มากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น
จากหลักฐานที่มีการบันทึกไว้บ่งบอกว่าชาวกรีกโบราณเป็นชนชาติที่มีความสนใจในธรรมชาติวิทยาเช่น
Hippocrates,
466-390 B.C. บิดาแห่งการแพทย์
เป็นผู้ที่มีความสนในการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ และจำแนกสัตว์ออกตามที่อยู่อาศัย (Habitat)
Theophratus, 389-298 B.C. เป็นผู้ที่ศึกษาการแพร่กระจายของพืช
โดยศึกษาความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมที่พืชนั้นอยู่อาศัย จนได้รับการยกย่องว่าเขาคือต้นแบบของ
Ecologist ที่แท้จริง
ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษานิเวศวิทยาในยุคก่อนสูญหายไปจำนวนมากในช่วงยุคมืด
และเริ่มมีความเคลื่อนไหวอีกครั้งในศตวรรษที่ 13
ขอบข่ายของนิเวศศึกษา
: นิเวศวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอื่น
ๆ
สามารถเป็นพื้นฐานความรู้ให้กับการศึกษาวิชาอื่น ๆ
และสามารถใช้ความรู้จากสาขาวิชาอื่น ๆ มาเป็นพื้นฐานของการศึกษาทางนิเวศเช่นกัน
ขอบเขตของวิชานี้อาจกำหนดได้จากระดับการประสานงาน (Level of Organization) จากหน่วยย่อยไปหาหน่วยใหญ่ หรือจากหน่วยใหญ่ไปหาหน่วยย่อยก็ได้
ภาพที่ 1 ขอบเขตของนิเวศวิทยา
การศึกษาระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งอาจศึกษาตามลำดับขั้นตอนตามธรรมชาตินับแต่มีการกำเนิดจักรวาล
และเจาะลึกลงไปยังหมู่ดาว สิ่งมีชีวิต และเล็กลงไปจนถึงระดับควากซ์
หรืออาจศึกษาจากหน่วยเล็กที่สุดไล่ขึ้นมาจากอะตอม เป็นโมเลกุล
เป็นกลุ่มสารอินทรีย์ เป็นสิ่งมีชีวิต ศึกษาระบบที่เกิดขึ้นบนดวงดาว
ไปจนความสัมพันธ์ระดับจักรวาลก็ได้
โดยทั่วไปเชื่อกันว่ากำเนิดของจักรวาลคือกำเนิดของสรรพสิ่ง
จักรวาลอาจมีกำเนิดเป็นไปตามทฤษฎี Bigbang จนทำให้เกิดระบบหมู่ดาวขึ้นมากมาย
หนึ่งในระบบหมู่ดาวที่เกิดขึ้นก็คือ ระบบสุริยะของเรา ซึ่งจากองค์ประกอบที่พอเหมาะ
และปัจจัยต่าง ๆ
เหมาะสมทำให้เกิดโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะดังที่ปรากฏ
แต่สิ่งมีชีวิตที่อยู่บนโลกนี้ก็ไม่ได้มีลักษณะที่คงที่ตลอดมานับแต่มีสิ่งมีชีวิตชนิดแรกเกิดขึ้นบนโลก
เชื่อกันว่าบนโลกใบนี้มีกระบวนการที่เรียกว่าวิวัฒนาการ
ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละช่วงเวลาที่มีลักษณะภูมิอากาศ
และภูมิประเทศของโลกเปลี่ยนแปลง
ภาพที่ 2 กำเนิดจักรวาล
และกำเนิดสิ่งมีชีวิต
|
การศึกษานิเวศของสิ่งมีชีวิตจึงเป็นการศึกษาลักษณะเดียวกับการศึกษา
Biosystem อื่น ๆ คำว่า biosystem
โดยทั่วไปจะหมายถึง
ระบบที่เกิดจากการที่หน่วยทางชีววิทยาในแต่ละระดับเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับองค์ประกอบต่างๆ
ในสภาพแวดล้อม
แล้วเกิดการจัดองค์กรที่มีรูปแบบเฉพาะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อยๆ และขณะเดียวกัน
ระบบนั้นจะทำหน้าที่เป็นระบบย่อยของระบบที่ใหญ่กว่า ไม่มีระบบชีวิตใดที่มีความสำคัญเหนือกว่าระบบอื่น


ภาพที่ 4 biosystem
ตั้งแต่ระดับสิ่งมีชีวิตจนถึงโลก
แต่ละลำดับขั้นของระบบชีวิตในระบบนิเวศจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับ
1. การถ่ายทอดพลังงาน (Energy transfer)
2. การถ่ายทอดสสาร (Material transfer)
3. การถ่ายทอดข้อมูล (Information transfer)
ดังนั้นระบบนิเวศ
(Ecosystem) จึงมีความหมายเกี่ยวกับ “การอยู่ร่วมกัน
การมีความสัมพันธ์กันของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ หรือสิ่งมีชีวิตกับปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ
ที่ไม่มีชีวิต ที่เกิดขึ้นบนพื้นที่หนึ่ง ๆ ก่อให้เกิดการถ่ายทอดพลังงาน
การหมุนเวียนธาตุอาหาร มีการรักษาสมดุลของระบบ ทำให้ระบบนั้นธำรงอยู่ได้”
ความหมายตามรากศัพท์ของนิเวศวิทยา
: Ecology มาจาก “oikology” ซึ่งเกิดจากการรวมคำว่า
Oikos และ Logos โดย Oikos = Home (บ้าน) หรือ Habitat (แหล่งที่อยู่) ส่วน Logos
= Study (การศึกษา) ความหมายตามรากศัพท์นิเวศวิทยาจึงหมายถึง
การศึกษาถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อบ้านหรือแหล่งที่อยู่ซึ่งก็คือสิ่งแวดล้อมนั่นเอง
ประเภทของระบบนิเวศ
อาจแบ่งเป็น
3
ประเภทโดยดูจากลักษณะการถ่ายเทมวลสารและพลังงานคือ
1.
ระบบนิเวศอิสระ (Isolated ecosystem) เป็นระบบนิเวศตามทฤษฎีเท่านั้น
ไม่มีการถ่ายเทพลังงานและมวลสารภายในระบบกับสิ่งแวดล้อมภายนอก
2.
ระบบนิเวศแบบปิด (Closed ecosystem) มีการถ่ายเทพลังงานจากสิ่งแวดล้อม
แต่ไม่มีการถ่ายเทสารระหว่างระบบนิเวศกับสิ่งแวดล้อม
3.
ระบบนิเวศแบบเปิด (Open ecosystem) มีการถ่ายเทพลังงานและมวลสารระหว่างระบบนิเวศกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเป็นลักษณะของระบบนิเวศที่พบได้ทั่วไป
การศึกษานิเวศวิทยา
การศึกษาวิชานี้ทำได้ในหลายระดับแต่โดยทั่วไปมุ่งศึกษาในระดับที่เป็นอินทรีย์
(Organism) เช่น เอกนิเวศวิทยา (Autecology) เป็นการศึกษานิเวศวิทยาระดับตัวตน
(species/individual) หรือ ระดับประชากร (population)
กับสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของมัน
เน้นเรื่องของการปรับตัว พฤติกรรม และวัฏจักรชีวิต
สังคมนิเวศวิทยา
(Synecology) เป็นการศึกษานิเวศวิทยาระดับกลุ่มสิ่งมีชีวิต
(community) ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
โดยเน้นถึงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ทำให้ทราบปฏิสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่มีต่อกัน
การศึกษานิเวศวิทยาอาจศึกษาโดยพิจารณาจากแหล่งที่อยู่เป็น
1.
นิเวศวิทยาน้ำจืด (Fresh water ecology หรือ Limnology)
2.
นิเวศวิทยาน้ำเค็ม (Marine ecology)
3.
นิเวศวิทยาบนบก (Terrestrial ecology)
4.
นิเวศวิทยาน้ำกร่อย (Estuary ecology)
หรืออาจแบ่งตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน
ซึ่งอาจแบ่งตามแขนงใหญ่ ๆ เป็นนิเวศวิทยาพืช และนิเวศวิทยาสัตว์ หรือแบ่งตามเชิงลึกก็ได้เช่น
1.
นิเวศวิทยาของพืช (plant ecology)
2.
นิเวศวิทยาของสัตว์ (animal ecology)
3.
นิเวศวิทยาของแมลง (insect ecology)
4.
นิเวศวิทยาของจุลินทรีย์ (microbial ecology)
5.
นิเวศวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate ecology)
การศึกษาระบบนิเวศหนึ่ง
ๆ จะศึกษาในด้าน
•
โครงสร้างของระบบนิเวศ (Structure)
•
หน้าที่ของระบบนิเวศ
(Function)
•
การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ (Homeostasis)
ซึ่งแต่ละระบบจะมีความสลับซับซ้อนแตกต่างกันไป
แต่โครงสร้างของระบบนิเวศที่สมบูรณ์จะมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน
โครงสร้างของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศหนึ่ง ๆ
ประกอบขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนิเวศหนึ่ง ๆ
มีมากมายหลายชนิด และแต่ละชนิดก็มีจำนวนหลาย ๆ ตัว
ซึ่งต่างก็มีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่แตกต่างกันไป ซึ่งอาจกล่าวคร่าว ๆ ได้ว่า
สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง (Species)
จะไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยว
การอยู่รวมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน บนพื้นที่หนึ่ง
ในช่วงระยะเวลาหนึ่งนั้น จะเรียกว่าเป็นประชากร (population) และถ้าประชากรของสิ่งมีชีวิตหลาย ๆ ชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกันในมาตรของเวลา
และสถานที่เดียวกัน จะเรียกว่าเป็น กลุ่มสิ่งมีชีวิต หรือสังคมของสิ่งมีชีวิต (Community
หรือ Biotic Community) กลุ่มสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีความต้องการปัจจัยต่าง
ๆ ในการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันรวมถึงความต้องการพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย (Habitat)
และอาหาร
ซึ่งทำให้แต่ละชนิดมีบทบาท ความสำคัญในระบบนิเวศ (Ecological Niche หรือ Niche) แตกต่างกันไป
ประชากรที่มีจำนวนสมาชิกมากและมีความสำคัญมาในนิเวศนั้นถูกจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเด่น (Dominant
species) ประชากรที่มีจำนวนน้อยหรือมีบทบาทความสำคัญน้อยกว่าจะถูกเรียกว่า
สิ่งมีชีวิตรอง (Associated species)
|
ภาพที่ 5 สิ่งมีชีวิต-ระบบนิเวศ
จะเห็นได้ว่าในระบบนิเวศหนึ่ง ๆ
นั้นประกอบขึ้นจากโครงสร้างเพียง 2 ส่วนหลัก ๆ เท่านั้นนั่นคือ
1.
โครงสร้างที่เป็นองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Factor หรือ
Abiotic Component)
2.
โครงสร้างที่เป็นองค์ประกอบที่มีชีวิต (Biotic Factor หรือ
Biotic Component)
ซึ่งองค์ประกอบทั้งสองส่วนต่างมีกิจกรรมที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ความสัมพันธ์นี้จะต้องอยู่ในสภาวะแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างสมดุล (Dynamic equilibrium) โดยธรรมชาติเสมอ เพื่อความอยู่รอดของระบบนิเวศไม่ให้แตกสลาย
1. สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Physical
environment/Abiotic factor) ซึ่งประกอบด้วย สารประกอบอินทรีย์
และอนินทรีย์ (abiotic substant) และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Abiotic
environment) ไม่ว่าจะเป็น
- สภาพภูมิอากาศ (Climate) :
อุณหภูมิ, น้ำ, ความชื้น, แสง, ลม
- ลักษณะทางธรณีวิทยา : ดิน, หิน, แร่ธาตุ
- การเปลี่ยนแปลงจากสิ่งรบกวน (Disturbance)
:
*
การรบกวนตามธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด, ไฟ,
แผ่นดินไหว, พายุ
* การรบกวนที่มีสาเหตุจากมนุษย์
|
|
ภาพที่ 6 ปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อลักษณะของระบบนิเวศ
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพไม่ว่าจะเป็น แสงสว่าง
อุณหภูมิ แร่ธาตุ ความชื้น pH ความเค็ม กระแสลม กระแสน้ำ ฯลฯ มีผลต่อสิ่งมีชีวิตในหลาย
ๆ ด้านเช่น
•
จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง
•
การแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต
•
จำนวนประชากรสิ่งมีชีวิต
•
รูปร่างลักษณะของสิ่งมีชีวิต
•
พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต

คำถาม : ปัจจัยทางกายภาพมีผลต่อพฤติกรรมและการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตอย่างไร?
2.
สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biological
environment/Biotic factor) สิ่งมีชีวิตอื่นๆ
ที่อยู่ล้อมรอบและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตนั้นๆ โดยอาจแบ่งตามบทบาทของการกินอาหาร
(Trophic level) หรือลำดับการส่งถอดพลังงานและสารอาหารได้เป็น
2.1
ผู้ผลิต (Producer หรือ Autotroph) เป็น Autotrophic Organism สามารถสร้างอาหารได้เองโดยอาศัยคลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่ใช้จับพลังงานจากแสงอาทิตย์
เปลี่ยนแปลงสารอาหารที่รับเข้ามาในรูปสารอนินทรีย์ให้กลายเป็นสารอินทรีย์
เรียกกระบวนการดังกล่าวว่า กระบวนการสังเคราะห์อาหารด้วยแสง ซึ่งพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่พืชนำมาใช้นี้คิดเป็นพลังงานเพียง
0.1-0.2% ของพลังงานที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์เท่านั้น
นอกจากพืชแล้วสิ่งมีชีวิตอื่นที่สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตได้ได้แก่
สาหร่ายเซลล์เดียว (โดยเฉพาะสาหร่ายสีเขียวจัดว่าเป็นผู้ผลิตที่มีบทบาทมากที่สุดในการสร้างออกซิเจนให้กับโลก) และแบคทีเรียพวก Cyanobacteria เช่น แบคทีเรีย Green Sulfur Bacteria ซึ่งมีรงควัตถุ
Bacterioviridin และแบคทีเรีย Purple Sulfur Bacteria
ซึ่งมี Bacteriochlorophyll ซึ่งแบคทีเรียทั้งสองจะใช้
H2S แทน H2O จึงได้
Sulfur แทน oxygen เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ

ภาพที่ 7 พลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่งมายังโลกและการรับและหมุนเวียนพลังงานแสงอาทิตย์ในระบบนิเวศ
2.2 ผู้บริโภค (Consumer หรือ Phagotroph) เป็น Heterotrophic Organism ไม่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตนเอง
จะใช้สารอาหารจากผู้ผลิตอีกที่หนึ่ง
ผู้บริโภคแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามอาหารที่มันกินเช่น
· ผู้บริโภคพืช (Herbivore)
· ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore)
· ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์
(Omnivore)
· ผู้บริโภคซาก (Detritivore – บริโภคซากอินทรีย์ที่ทับถมในดิน
หรือ Scavenger – บริโภคซากตาย)
หรืออาจแบ่งตามลำดับการบริโภคเป็น
· ผู้บริโภคปฐมภูมิ (Primary consumer) ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นผู้บริโภคพืช ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือสามารถย่อยเซลลูโลส
และเปลี่ยนเนื้อเยื่อพืชให้กลายเป็นเนื้อเยื่อสัตว์ได้
· ผู้บริโภคทุติยภูมิ (Secondary consumer) โดยทั่วไปเป็นสัตว์ที่กินเนื้อของสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร
โดยทั่วไปมีขนาดใหญ่และแข็งแรง
· ผู้บริโภคลำดับตติยภูมิ
(Tertiary consumer) จตุรภูมิ (Quatiary consumer) และต่อ ๆ ไป
· ผู้บริโภคลำดับสูงสุด (Top Carnivore)
เป็นผู้บริโภคที่มักจะไม่ถูกกินโดยสัตว์อื่นต่อไป
|
ภาพที่ 8 การกินกันเป็นทอด
ๆ ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
2.3
ผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer
หรือ Saphotroph) ทำหน้าที่สลายซากและเศษอินทรีย์ต่าง
ๆ ให้มีขนาดเล็กลงโดยการย่อยภายนอกเซลล์ สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มีจำนวนมาก
แต่เนื่องจากมีขนาดเล็กเมื่อคิดมวลรวมจึงมีน้ำหนักน้อย แต่มีอัตราการเผาผลาญสูงปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นจำนวนมาก
สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้จัดเป็น Heterotroph เช่นกันเนื่องจากไม่สามารถสร้างอาหารเองได้
มันจะดูดซึมอาหารที่มันย่อยโดยการหลั่งเอนไซม์ออกไปย่อยซากอินทรีย์ที่อยู่ในธรรมชาติจนมีขนาดเล็กลง
จนอาจกลายเป็นสารอนินทรีย์รูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้
นับว่ามีบทบาทสำคัญในวัฏจักรการหมุนเวียนสารอินทรีย์-สารอนินทรีย์ในระบบนิเวศ
|

หน้าที่ของระบบนิเวศ

•
ห่วงโซ่อาหารที่เริ่มจากพืชหรือสัตว์ที่มีชีวิตเรียกว่า grazing food chain หรือ predator food
chain นอกจากนั้นก็มีห่วงโซ่อาหารที่มีลักษณะพิเศษที่สิ่งมีชีวิตเริ่มต้นจะไม่ถูกบริโภคเสร็จสิ้นในคราวเดียวแต่จะถูกบริโภคไปเรื่อย
ๆ และอาจเป็นที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคไปพร้อม ๆ กันด้วย ห่วงโซ่อาหารแบบนี้เรียกว่า
parasite food chain
•
ห่วงโซ่อาหารที่เริ่มจากซากอินทรีย์เรียกว่า detritus food chain
|
ภาพที่ 10 ห่วงโซ่อาหารที่เริ่มจากซากอินทรีย์
ถ้าเป็นห่วงโซ่อาหารที่มีหลาย ๆ
แบบผสมกันอาจเรียกว่า ห่วงโซ่อาหารเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous food chain) เช่น พืช à ควาย à เหลือบ à นก


สายใยอาหารประกอบด้วยห่วงโซ่อาหารหลายสายเชื่อมกันแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในชุมชนที่มีต่อกันอย่างสลับซับซ้อน
ระบบนิเวศใดที่มีสายใยอาหารสลับซับซ้อนแสดงว่ามีเสถียรภาพสูง
เพราะมีโอกาสที่จะเสียสมดุลได้น้อยถ้าหากมีสิ่งมีชีวิตใดสูญหายไปก็ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นทดแทนได้
พีระมิดนิเวศ
การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับอาหารต่าง
ๆ ในระบบนิเวศสามารถเขียนได้ในลักษณะฐานกว้าง ยอดแคบจึงเรียกว่า พีระมิดนิเวศ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งเป็น 3 แบบคือ
1.
พีระมิดจำนวน (Pyramid of Number)
เป็นพีระมิดที่เปรียบเทียบสัดส่วนจำนวนหรือปริมาณสิ่งมีชีวิตในห่วงโซ่อาหารหนึ่ง
ๆ โดยคิดจากจำนวนของสิ่งมีชีวิตต่อพื้นที่
โดยทั่วไปพบว่าฐานซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มผู้ผลิตจะมีขนาดกว้างมากเนื่องจากมักจะมีปริมาณมากที่สุด
อย่างไรก็ตามพบว่าในบางห่วงโซ่อาหารที่ผู้บริโภคลำดับที่ 1 มีขนาดเล็กมาก
ๆ และไม่ได้บริโภคผู้ผลิตครั้งละมาก ๆ
ฐานของพีระมิดนิเวศในห่วงโซ่อาหารแบบนี้จะแคบกว่าจำนวนผู้ผลิตเช่น
กรณีของต้นลำไยและแมลง เนื่องจากผู้ผลิตคือ ต้นลำไย 1 ต้นมีดอกมากมาย
และแต่ละดอกสามารถเป็นแหล่งอาหารให้กับแมลงได้มากกว่า 1
ตัวดังนั้นเมื่อเขียนพีรามิดของจำนวนจะได้พีระมิดฐานแคบ
|
|
ภาพที่ 11 พีระมิดจำนวน
2.
พีระมิดน้ำหนัก (Pyramid of Biomass) เป็นพีระมิดที่เปรียบเทียบสัดส่วนโดยใช้วิธีหาปริมาณน้ำหนักแห้ง
(มวลชีวภาพ) ของสิ่งมีชีวิตในแต่ละระดับ
มีหน่วยเป็นน้ำหนักแห้งต่อพื้นที่หรือปริมาตร โดยทั่วไปจะได้เป็นพีรามิดฐานกว้างยอดเรียว
แต่ระบบนิเวศบางแห่งพีระมิดน้ำหนักอาจมีฐานแคบยอดกว้างก็ได้
ถ้าสิ่งมีชีวิตที่ถูกบริโภคมีขนาดเล็กมาก มีอายุสั้น และมีจำนวนเยอะมากเช่น
พีระมิดน้ำหนักของแพลงค์ตอน à ปลาเล็ก à ปลาใหญ่
|
ภาพที่ 12 พีระมิดน้ำหนัก
3.
พีระมิดพลังงาน (Pyramid of Energy) เป็นพีระมิดที่เปรียบเทียบสัดส่วนโดยใช้พลังงานที่เก็บสะสมไว้ในสิ่งมีชีวิตแต่ละระดับ
ซึ่งสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะใช้พลังงานไม่ถึง 20%
ของพลังงานที่มันได้รับยิ่งระดับการบริโภคยิ่งมาก
พลังงานที่ถูกถ่ายทอดจะยิ่งน้อยลง การเขียนพีระมิดชนิดนี้จะมีหน่วยเป็นแคลอรีต่อพื้นที่
โดยทั่วไปพีระมิดพลังงานจะมีฐานใหญ่ ปลายเรียว
|
ภาพที่ 13 พีระมิดพลังงาน
การถ่ายทอดพลังงานและมวลสาร
การถ่ายทอดพลังงานมีการสูญเสียออกไปในทุก
Trophic Level ดังนั้นการถ่ายทอดพลังงานตามลำดับการกินใน food chain จะค่อนข้างจำกัดประมาณ 4-5 ขั้น (trophic
level ที่ 5 จะได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่พืชนำไปใช้ได้ประมาณ
0.01%) ดังนั้น Food chain ยิ่งสั้นจะมีพลังงานสะสมในรูปมวลชีวภาพมาก
|
ภาพที่ 14 การถ่ายทอดพลังงานในห่วงโซ่อาหารที่ยาวต่างกัน
ในการถ่ายทอดพลังงาน “Lindemann”
พบว่า พลังงานที่ส่งผ่านไปในแต่ละ trophic level จะส่งผ่านแค่ประมาณ
10-20% ในแต่ละลำดับขั้น
จะมีการสูญเสียพลังงานไปประมาณ 80-90% ในรูปของ Metabolism
เช่น การหายใจ
การสร้างเนื้อเยื่อ พลังงานความร้อน
มีบางส่วนที่ไม่สามารถถ่ายทอดพลังงานสู่อีกขั้นได้ เช่น พืช
มีบางส่วนที่กินไม่ได้เช่น เปลือก เมล็ด
พอพลังงานถ่ายทอดไปที่สัตว์ก็มีบางส่วนในร่างกายสัตว์ที่กินไม่ได้ จึงสรุปออกมาเป็น ten percent law
100% à10% à 1% à 0.1% ----->
|
ภาพที่ 15 การถ่ายทอดพลังงาน
การถ่ายทอดมวลสารในห่วงโซ่อาหารก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อย
ๆ เนื่องจากการบริโภคในแต่ละลำดับขั้นไม่สมบูรณ์ มวลสารบางส่วนจะถูกถ่ายทอดจาก trophic level ที่ต่ำกว่าไปยังผู้บริโภคที่
trophic level สูงกว่าแต่สิ่งที่เหลือจากการบริโภคเช่น
ส่วนที่กินไม่ได้ และส่วนที่ย่อยไม่ได้ จะถูกคืนกลับสภาพแวดล้อม
|
ภาพที่ 16 การถ่ายทอดมวลสาร

คำถาม : ในห่วงโซ่อาหารที่ประกอบด้วย
ข้าว à ตั๊กแตน à กบ à นก à คน
นั้นสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้บริโภคลำดับที่ 2 เป็นชนิดเดียวกับสิ่งมีชีวิตใน trophic
level ที่ 2 หรือไม่อย่างไร?
จะเห็นได้ว่า Energy flow จะถ่ายทอดในทิศทางเดียว
และจะลดลงไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับการถ่ายทอดมวลสาร (Biomass) ในห่วงโซ่อาหาร แต่ถ้าพิจารณาถึงการถ่ายทอดสารอาหาร (Nutrient) จะเกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นวัฏจักร (biogeochemicalcycle) หมุนเวียนไม่จบสิ้น เพราะสารอาหารจะถูกถ่ายทอดผ่านสิ่งมีชีวิต
และบางครั้งผ่านสิ่งที่ไม่มีชีวิต แต่การถ่ายทอดนั้นจะเชื่อมโยงต่อกันไปเรื่อย ๆ
“การถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารจัดเป็น
หน้าที่ (Function) ของระบบนิเวศ”
Bioaccumulation;
Biomagnification
นอกจากพลังงานและสารอาหารแล้วมี
สารอื่น ๆ บางชนิดอีกที่สามารถถูกถ่ายทอดไปในห่วงโซ่อาหารจัดเป็นการสะสมทางชีวภาพ
ตามระดับพลังงานซึ่งจะมีการสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามระดับพลังงานที่สูงขึ้นไป
ได้แก่ การสะสมสารพิษต่าง ๆ
การสะสมของโลหะหนักในสัตว์น้ำเป็นต้นสารพิษประเภท DDT มีผลทำให้เปลือกของไข่สัตว์ปีกเปราะบาง
แตกง่าย และมีโอกาสเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์สูงขึ้น
|
ภาพที่ 17 การสะสม DDT ในสิ่งมีชีวิตซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย
ๆ ในสิ่งมีชีวิตที่ trophic level สูงขึ้น
|
ภาพที่ 18 ผลของการสะสม DDT
ในสัตว์ปีก
ECOLOGICAL NICHE
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบนิเวศหนึ่ง
ๆ มีความต้องการ มีบทบาท หน้าที่ ที่แตกต่างกันไป
กล่าวได้ว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มี Ecological niche ที่แตกต่างกัน
สิ่งมีชีวิตที่มีความยืดหยุ่นของ niche สูงเรียกว่า Generalist
Ø Habitat niche สิ่งมีชีวิตมีความต้องการที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน
ที่อยู่อาศัย (Habitat) ของสิ่งมีชีวิตไม่ใช่แค่บ้าน ถ้ำ รัง
โพรง เท่านั้น แต่จะรวมถึงสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นเช่น Habitat
ของเสือ ไม่ใช่แค่ถ้ำที่มันใช้พัก
แต่จะรวมพื้นที่ทั้งหมดในอาณาเขตของมัน รวมทั้งสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิตต่าง
ๆ ในบริเวณนั้นด้วย
Ø Trophic niche สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความต้องการอาหารแตกต่างกันบางชนิดบริโภคพืชบก
บางชนิดบริโภคพืชน้ำ บางชนิดบริโภคสัตว์
ฯลฯ สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่บริโภคอาหารได้มากกว่า 1 อย่าง
แต่ถ้าสิ่งมีชีวิตใดสามารถบริโภคอาหารได้อย่างเดียวจะจัดเป็นพวก Specialist
The Competitive exclusion
principle
สิ่งมีชีวิตที่มี
niche เหมือนกันมักจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ เว้นแต่จะมี niche
differentiation หรือ resource partitioning เช่น
การเลี่ยงเวลาหาอาหาร การเลี่ยงความต้องการเชิงปริมาณ (การทดแทนด้วยสิ่งอื่น ๆ )
ดังนั้นสิ่งมีชีวิตที่เป็น Generalist ซึ่งมี niche ที่กว้างกว่าพวก Specialist จึงแพร่กระจายได้มากกว่า
ปัจจัยที่มีผลต่อการอยู่รอด และการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตถูกจัดเป็นปัจจัยจำกัด
(Limiting factor)
Limiting Factor
สิ่งมีชีวิตต้องได้รับปัจจัยเพียงพอ
และสภาพแวดล้อมเหมาะสมจึงจะประสบความสำเร็จในการมีชีวิต ปัจจัยบางอย่างที่มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตมากจนถ้าขาดไป
หรือมีมากเกินไปจะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติจนอาจถึงตายได้เช่น
trace elements หรือแม้แต่ H2O, O2
บางครั้งก็อาจกลายเป็น limiting factor
Limit of Tolerance (Shelford’s law of tolerance)
ปริมาณของปัจจัยบางปัจจัยที่ใช้ในการดำรงชีวิต
ถ้ามีมากไปหรือน้อยไป จะเป็นตัวจำกัดการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความต้องการ
หรือช่วงความทนทานต่อปัจจัยต่าง ๆ แตกต่างกัน
โดยแต่ละชนิดจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดีในช่วงที่เหมาะสมที่สุด (optimal period) และสามารถทนอยู่ในช่วงที่มากกว่าหรือน้อยกว่าช่วงนี้ได้อีกจนถึงจุดที่เป็นขีดจำกัดที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
ซึ่งจะไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ นั่นหมายความว่า
•
สิ่งมีชีวิต “ทน” ต่อปัจจัยต่าง
ๆ ได้ไม่เท่ากัน
•
ถ้ามีช่วง “ทน” ได้กว้าง
จะแพร่กระจายได้ดี
•
ปัจจัยหนึ่งอาจมีผลต่ออีกปัจจัยหนึ่งได้
ซึ่งความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันนี้ทำให้การแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดแตกต่างกัน
|
ภาพที่ 18 การกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับความทนต่อสภาพแวดล้อม
|
Liebig’s law of minimum

สรุป
: อิทธิพลของปัจจัยทางกายภาพมีผลต่อสิ่งมีชีวิต
ในลักษณะที่ “การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตถูกควบคุมจากสารที่ต้องการในปริมาณน้อย
และสภาพวิกฤตสิ่งแวดล้อม
ส่วนปัจจัยที่มากกว่า-น้อยกว่าช่วงความทนทานจะเป็นปัจจัยจำกัดในการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต”
![]() |
|
คำถาม
: จากกราฟสิ่งมีชีวิตใดที่น่าจะมีการแพร่กระจายตัวสูง เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น


สิ่งมีชีวิต B
การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศแต่ละระบบมีชนิดและจำนวนของสสารและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่แตกต่างกัน
แต่สิ่งเหล่านั้นล้วนมีบทบาทในการรักษาสมดุลของระบบเช่นเดียวกันเช่น
ผู้ผลิตของป่าไม้มี biomass
สูง ในขณะที่ผู้ผลิตของทะเลมี turn over สูง
เพื่อให้ผู้บริโภคในแต่ละระบบมีอาหารเพียงพอภายใต้สภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน
จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นนิเวศบกหรือนิเวศน้ำ ผู้ผลิต ผู้บริโภค
และผู้ย่อยสลายต่างทำหน้าที่ของตนเองเพื่อพยายามรักษาสมดุลของระบบไว้
|
ภาพที่ 19 การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
เมื่อสิ่งมีชีวิตใดก็ตามดึงสารและพลังงานไปจากสิ่งแวดล้อม
สิ่งมีชีวิตนั้นก็ต้องคืนสารและพลังงานกลับสู่สิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน
ระบบนิเวศจึงจะเกิดดุลยภาพได้ เมื่อใดที่มีการนำเอาสารและพลังงานเข้าระบบหนึ่ง ๆ
มากเกินไป ระบบนั้นจะไม่เสถียรและเกิดการเปลี่ยนแปลงไป
หากแต่ถ้าดึงสารและพลังงานออกจากระบบมากเกินไป ระบบนั้นจะเริ่มล่มสลาย
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตมีการกระจายตัวที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
แต่ละสภาพแวดล้อมทั้งนี้เพราะมันมีความต้องการต่าง ๆ มี niche ที่แตกต่างกัน
สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้บริโภคจะมีการกระจายตัวสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตที่เป็นอาหารของมัน
สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีการกระจายตัวออกจากกันตามทรัพยากรที่มันต้องการ
อาจแบ่งระดับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิจได้เป็น
1.
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน (Intraspecific relationship)
2.
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน (Interspecific relationship)
Intraspecific relationship
การรวมกลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันทำให้เกิด
การแข่งขัน (Competition)
การติดต่อสื่อสาร (Communication) และความสัมพันธ์เชิงสังคม
(Social interaction) ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด
เกิดลักษณะการกระจายตัวที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มประชากรของสิ่งมีชีวิตซึ่งอาจแบ่งได้เป็น
1. การรวมกลุ่ม (Clumped) เช่น
ฝูงปลา
-
พบมากที่สุด
-
สิ่งแวดล้อมไม่สม่ำเสมอ
สิ่งมีชีวิตจะไปรวมกันอยู่บริเวณที่มีทรัพยากรที่ต้องการ หรือบริเวณที่ปลอดภัย
2. สม่ำเสมอ (Uniform) เช่น
การจองพื้นที่ทำรังของนก
-
พบไม่บ่อย
-
การแก่งแย่งรุนแรงเนื่องจากมีทรัพยากรจำกัด หรือมี niche ที่เหมือน
ๆ กันไม่อาจเลี่ยงหรือแบ่งปันได้
3. อิสระ (Random) เช่น
การกระจายตัวของต้นไทรในป่าที่อุดมสมบูรณ์มาก ๆ
-
ค่อนข้างหายาก
-
สิ่งแวดล้อมสม่ำเสมอ
-
การต่อสู้ไม่รุนแรง
|
ภาพที่ 20 รูปแบบการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันมีความสัมพันธ์กันในแง่การถ่ายทอดพลังงานและมวลสาร
ความสัมพันธ์เหล่านี้อาจเป็นความสัมพันธ์ชั่วคราว
หรือความสัมพันธ์แบบอยู่ร่วมกันตลอดเวลา
1.
Neutralism (0,0)/(0,0) สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันนั้น
ไม่มีใครได้รับหรือเสียประโยชน์จากกันและกันโดยตรง
และเมื่อแยกทางจากกันก็ไม่มีใครได้รับหรือเสียประโยชน์เช่นกัน เช่น สิงโตกับไม้พุ่มเตี้ย นกกินปลีกับกวางดาว

ภาพที่ 21 ความสัมพันธ์ระหว่างสิงโตกับพุ่มไม้
2.
Protocooperation
(+,+)/(0,0) สิ่งมีชีวิต 2
ชนิดที่เมื่ออาศัยอยู่ร่วมกันต่างก็ได้รับประโยชน์จากกันและกัน
แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันเสมอไปแม้แยกกันอยู่ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้เช่น
ปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล ดอกไม้ทะเลจะเกาะอยู่บนเปลือกของปูเสฉวน
สามารถเคลื่อนที่ไปหาแหล่งอาหารใหม่ ๆ ได้ และยังได้รับอาหารบางส่วนจากปูเสฉวนด้วย
ในขณะที่ปูเสฉวนก็ใช้ดอกไม้ทะเลช่วยพรางตาศัตรูได้ ความสัมพันธ์ระหว่างผีเสื้อและดอกไม้ ความสัมพันธ์ระหว่างมดดำและเพลี้ยะ
![]() |
ภาพที่ 22 ปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล
ผีเสื้อและดอกไม้ มดดำกับเพลี้ยะ
3.
Mutualism
(+,+)/(-,-) สิ่งมีชีวิต 2 ชนิดเมื่ออาศัยอยู่ร่วมกัน
ต่างฝ่ายต่างก็ได้รับประโยชน์จากกันและกันแต่หากแยกจากกันจะไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้เช่น
- ไลเคนส์ (Lichens) ซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันระหว่างรากับสาหร่ายสีเขียว โดยราจะได้รับอาหารจากสาหร่ายสีเขียวซึ่งสามารถสร้างอาหารได้เอง ส่วนสาหร่ายก็ได้รับความชื้นจากรา
- ไลเคนส์ (Lichens) ซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันระหว่างรากับสาหร่ายสีเขียว โดยราจะได้รับอาหารจากสาหร่ายสีเขียวซึ่งสามารถสร้างอาหารได้เอง ส่วนสาหร่ายก็ได้รับความชื้นจากรา
•
แบคทีเรียไรโซเบียมในปมรากถั่ว
-
โปรโตซัวไตรโคนิมฟาในทางเดินอาหารปลวก
![]() |
|||
|
|||
ภาพที่ 23 ไรโซเบียมที่ปมรากถั่ว
ไลเคนและไตรโคนิมฟา
4.
Commensalisms
(+,0)/(-,0)เมื่ออยู่ร่วมกันฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์
เมื่อแยกจากกันตัวที่ไม่ได้-ไม่เสียประโยชน์จะเหมือนเดิมแต่ฝ่ายที่เคยได้รับประโยชน์จะไม่ได้อะไรแทนหรืออาจจะเสียประโยชน์เมื่อไม่ได้อยู่รวมกันกับผู้อื่นเช่น
- กล้วยไม้บนต้นไม้ กล้วยไม้เป็นพืชที่เกาะอยู่บนต้นไม้อื่น ๆ
โดยไม่ชอนไชรากลงไปเพื่อแย่งน้ำหรืออาหารจากต้นไม้
- เหาฉลามกับปลาฉลาม เหาฉลามจะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับปลาฉลามและได้รับอาหารที่เหลือจากปลาฉลามด้วย ส่วนปลาฉลามก็ไม่ได้หรือเสียประโยชน์อะไร
- เหาฉลามกับปลาฉลาม เหาฉลามจะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับปลาฉลามและได้รับอาหารที่เหลือจากปลาฉลามด้วย ส่วนปลาฉลามก็ไม่ได้หรือเสียประโยชน์อะไร
|
|
||||
ภาพที่ 23 ความสัมพันธ์แบบ
commensalism
5.
Predation
(+,-)/(-,+) เมื่ออาศัยอยู่ร่วมกัน
โดยฝ่ายหนึ่งที่เป็น ผู้ล่า (predator) จะได้ประโยชน์
ส่วนเหยื่อ (prey) จะเสียประโยชน์โดยการสูญเสียอวัยวะ
ชิ้นส่วนหรือเสียชีวิต แต่เมื่อแยกจากกันผู้ล่าจะเสียประโยชน์
ส่วนเหยื่ออาจไม่ได้ไม่เสียอะไร หรืออาจได้ประโยชน์จากการแยกกันอยู่เช่น
- แมลงกับนก นก (ผู้ล่า) จิกแมลง (เหยื่อ)
กินเป็นอาหาร นกจึงได้ประโยชน์ ส่วนแมลงเสียประโยชน์
-
นกกับมนุษย์ มนุษย์เป็นผู้ล่านกเป็นอาหาร มนุษย์จึงได้ประโยชน์ ส่วนนกเป็นเหยื่อจึงเสียประโยชน์
สิ่งมีชีวิตหนึ่ง
ๆ ในระบบนิเวศอาจเป็นได้ทั้งผู้ล่าและเหยื่อ
ซึ่งทำให้มีชีวิตสามารถควบคุมปริมาณซึ่งและกันให้อยู่ในภาวะสมดุล
![]() |
ภาพที่ 24 การล่าเหยื่อ
โดยทั่วไปความสัมพันธ์รูปแบบนี้จะทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีเหยื่อ-ผู้ล่าที่มีความจำเพาะเกิดการปรับตัวในรูปแบบที่สัมพันธ์กันเช่น
เมื่อผู้ล่ามากขึ้นเหยื่อพยายามอยู่รอดด้วยการเพิ่มปริมาณลูกหลานครั้งละมาก ๆ หรือเลี่ยงการถูกกินด้วยการเพิ่มขนาด
หรือเปลี่ยนแปลงสรีระให้เหมาะสมต่อการหนี
อย่างไรก็ตามในระบบนิเวศที่สมดุลจะพบได้ว่าจำนวนผู้ล่าและเหยื่อนั้นมีความสัมพันธ์กันเสมอ
6.
Parasitism (+,-)/(-,0) เมื่ออาศัยอยู่ร่วมกัน
ฝ่ายที่ได้รับประโยชน์เรียกว่า ปรสิต (parasite)
ส่วนฝ่ายที่เสียประโยชน์เรียกว่า ผู้ถูกอาศัย (host)
เมื่อแยกทางจากกันปรสิตมักจะดำรงชีวิตได้ไม่ดี หรือไม่อาจดำรงชีวิตได้เลย ส่วนผู้ถูกอาศัยไม่ได้ไม่เสียอะไรจากการแยกกันอยู่เช่น
- เห็บกับสุนัข เห็บเป็นปรสิตภายนอก (ectoparasite)
- เห็บกับสุนัข เห็บเป็นปรสิตภายนอก (ectoparasite)
- พยาธิกับมนุษย์ พยาธิเป็นปรสิตภายใน (endoparasite)
- ปรสิตสังคม (social parasite) เช่น การวางไข่ในรังนกอื่นของนกกาเหว่า
![]() |
ภาพที่ 25 ปรสิตต่าง ๆ
7.
Parasitoid
(+,-) / (-,0) สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งจะล่าสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง
เพื่อใช้เป็นพื้นที่วางไข่ และเป็นแหล่งอาหารสำหรับตัวอ่อนเช่น
|
|
- ต่อเบียน ที่จะวางไข่ไว้บนหนอนผีเสื้อ
เมื่อหนอนเข้าดักแด้ ตัวอ่อนของต่อจะฟักและกินหนอนผีเสื้อเป็นอาหาร
ภาพที่ 26 การวางไข่ของแมลงเบียนบนตัวอ่อนของแมลงอื่น
8.
Amensalism (-,0) / (0,0) เมื่ออาศัยอยู่ร่วมกัน
จะมีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียประโยชน์ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ไม่เสียประโยชน์อะไร
เมื่อแยกจากกันต่างฝ่ายต่างดำรงชีวิตอยู่ได้ตามปกติเช่น
- ราสร้างสาร antibiotic ไปยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย (บางครั้งเรียกภาวะ Antibioticism หรือ Allelopathism)
- ราสร้างสาร antibiotic ไปยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย (บางครั้งเรียกภาวะ Antibioticism หรือ Allelopathism)
- ต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
บังแสงต้นไม้พุ่มเตี้ยที่ขึ้นบริเวณโคนต้น ทำให้ต้นไม้เล็ก ๆ ไม่สามารถเติบโตได้
![]() |
ภาพที่ 27 การสร้างสารปฏิชีวนะของราไปยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
9.
Competition
(-,-) เมื่อสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดอาศัยอยู่ร่วมกัน
แล้วทั้งสองฝ่ายต่างเสียประโยชน์เนื่องจากมี niche ที่เหมือน
ๆ กันเช่น
- กระต่ายกับวัว
ที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าเดียวกัน
- กระรอกและนกหัวขวาน
ต้องการโพรงในการทำรัง
![]() |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น